ละครญี่ปุ่น...คิดลึกกว่าที่คิด!!!

Leave a Comment


ละครญี่ปุ่นแต่ละเรื่องกว่าจะออกมาได้ไม่ใช่เรื่องง่ายนักค่ะ วันนี้จะมาเล่าตัวอย่างของความคิดลึกในละครญี่ปุ่น "คิดลึก" ที่ว่านี่ไม่ใช่เรื่องสองแง่สองง่ามนะคะ แต่เป็นการคิดที่ลึกเข้าไปอย่างละเอียดสุดๆ จะคิดลึกขนาดไหนนั้นตามมาดูกันเลยค่ะ

1. ความลับที่มาพร้อมกับเสื้อผ้าหน้าผมที่แสนธรรมดา

สิ่งที่ต้องคิด เมื่อนักแสดงต้องแต่งหน้า แต่งตัวเข้าฉากคืออะไรความชิค ความแซ่บ ความมีคลาส ความอินเทรนด์ ความสวย ความหล่อ หรือเปล่า แน่นอนว่าสิ่งพวกนี้ก็เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึง แต่สิ่งที่คิดลึกเข้าไปมากกว่านั้นก็คือ “ความเหมาะสม” ค่ะ

แฟชั่นและการแต่งหน้าส่วนใหญ่ในละครญี่ปุ่นมักจะเป็นสิ่งที่ทำได้จริง เสื้อผ้า ก็จะเป็นชุดที่ใส่เดินตามถนน ใส่ในชีวิตประจำวันได้จริง รวมถึงเหมาะกับสภาพอากาศในชณะที่ละครญี่ปุ่นกำลังออนแอร์ด้วย หลายคนอาจจะรู้มาแล้วว่า ละครญี่ปุ่นเขาจะฉายเป็น Season หรือเป็นฤดู สิ่งที่ต้องคิดต่อนอกจากความสวยงามก็คือ ต้องเป็นเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับฤดูกาลนั้นๆ ด้วย เช่น ละครช่วง Summer ก็จะเป็นชุดที่ใส่แล้วสบายๆ ไม่หนามาก แต่ถ้าเป็นละครช่วงหน้าหนาว ก็ต้องใส่เสื้อโค้ด ผ้าพันคอ ถุงมือ ให้เหมาะสมกับฤดูกาลจริงๆ

ส่วนเรื่องการแต่งหน้าก็จะเน้นเบาๆ เหมาะกับกาลเทศะ อยู่บ้านก็แต่งให้เหมือนไม่แต่ง เวลาเข้านอนอายไลเนอร์ อายแชโดว์ ลิปสติกก็ไม่มีเหลือบนใบหน้าแล้ว ส่วนถ้าป่วย ก็ต้องป่วยจริงๆ ค่ะ แบบนี้...

Credit Picture: 1 litre of tears

*********************


2.ต้องมีหลักฐานมาสนับสนุน

ถ้าพูดถึงซีรีส์ญี่ปุ่น แนวละครหลักๆ ที่เรานึกถึงคงหนีไม่พ้นแนวสืบสวนสอบสวนใช่ไหมคะ และรู้ไหมคะว่า การสร้างละครสืบสวนสอบสวนแต่ละเรื่องนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยค่ะ แค่การใส่ทริคสับขาหลอกว่าใครเป็นคนร้ายว่ายากแล้ว ยังมีความยากในเรื่องของคดีความ งิธีการก่อเหตุอาชญากรรมที่ไม่ธรรมดา จะมาเป็นคดีไก่กาที่ไขกันง่ายๆ ไม่ได้นะคะ แต่ความยากที่ว่าก็ไม่ได้เมคกันมั่วๆ แต่ต้องมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์แบบจริงๆ จังๆ เลย อย่างเช่น เรื่อง "Keizoku SPEC" ว่าด้วยเรื่องคดีเหนือธรรมชาติ แม้จะเหนือธรรมชาติ แต่ก็เป็นละครสืบสวนที่ดูจริงจังมากค่ะ อย่างภาคแรก ไขปริศนาเรื่องราวต่างๆ ด้วยทฤษฎี Paradox เอาให้มึนกันไปข้างเลย...
เฮือกกกกก!!!!

Credir Picture: http://www.yaoiotaku.com/forums/threads/16484-keizoku-2-spec


หรือจะเป็นเรื่อง "biblia koshodou no jiken techou" ละครแนวสืบสวนจากหนังสือ ขอบอกว่าสิ่งที่ได้จากเรื่องนี้มากกว่าความสนุกก็คือ ความรู้เกี่ยวกับหนังสือชื่อดังของญี่ปุ่นค่ะ หนังสือแต่ละเล่มที่ถูกกล่าวถึงในละครเป็นหนังสือที่ "มีอยู่จริง" ไม่ใช่สมมติขึ้นมา แล้วละครก็นำเรื่องราวในหนังสือพวกนั้นมาผูกเป็นเรื่องราวด้วยค่ะ 
Credit Picture:
https://tylerraiz.wordpress.com/2013/01/29/biblia-koshodou-no-jiken-techou-ep-01-review/

เรื่อง "Attention Please" ละครเกี่ยวกับอาชีพแอร์โฮสเตส ก็ได้รับความร่วมมือจากสายการบิน JAL เลยทำให้เรื่องราวของอาชีพนี้มีความเข้มข้น น่าเชื่อถือ ใครสนใจอยากเป็นแอร์ฯ มาเรียนรู้ได้จากละครเรื่องนี้เลยค่ะ

Credit Picture: http://matome.naver.jp/odai/2140244668220910601

เห็นไหมคะว่า จะทำละครแต่ละทีก็ต้องมีหลักฐาน ข้อมูลมาสนับสนุน และต้องมีน้ำหนักที่แน่นหนาพอ คิดลึกจริงๆ ค่ะ!


*********************

3.ตอนจบเข้าใจยากกว่าที่คิด

เอ่อออ...อย่าได้หวังว่า ตอนจบของละครญี่ปุ่นจะทำให้เคลียร์ทุกสิ่งทุกอย่างนะคะ แม้จะจบแล้ว ละครญี่ปุ่นก็ยังช่วยให้คนดูคิดต่อ ทั้งนี้ก็เพื่อไว้เป็นแนวทางในการสร้างภาคต่อต่อไป หรือบางทีคนสร้างละครเขาก็อยากให้เป็นจุดให้คนดูได้คบคิดต่อค่ะ เพราะบางทีชีวิตของคนเราก็ไม่มีอะไรที่จบบริบูรณ์หรอกค่ะ การที่สิ่งหนึ่งได้สิ้นสุดลง ก็หมายความว่าสิ่งใหม่กำลังจะเริ่มต้นขึ้น...


*********************

4.บทละครเข้าขั้นสัจธรรม

เอกลักษณ์อันโดดเด่นของละครญี่ปุ่นก็มักจะมาในโหมดที่เครียดๆ จริงจังกับโลกจริง  คงเป็นหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ใครหลายคนเบือนหน้าหนีละครญี่ปุ่น แต่นี่แหละค่ะสื่อถึงความคิดเยอะ คิดลึกของละครญี่ปุ่น ที่ไม่ได้นำเสนอแค่ว่า "ธรรมมะต้องชนะอธรรม" "ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว" พร้อมรูปแบบชีวิตของผู้คนที่หลากหลาย ที่ถ่ายทอดผ่านละคร ไม่ว่าจะเป็นชีวิตเด็กวัยรุ่นที่ถูกกลั่นแกล้ง เรื่องราวอาชีพแปลกๆ ในญี่ปุ่น ละครแนวครอบครัว ละครดราม่าอื่นๆ ที่มาทำให้เราได้เรียนรู้ว่าชีวิตมันมีอะไรมากกว่านั้น...


*********************


5.เครื่องมือในการพัฒนาสังคม

ญี่ปุ่นจะทำละครทั้งที ไม่ได้คิดแค่ว่าต้องมันส์ ต้องสนุก หรือดูไปเพลินๆ เท่านั้นนะคะ แต่เขาคิดลึกกว่านั้นค่ะ ละครญี่ปุ่นบางเรื่องก็มีส่วนในการขับเคลื่อนอะไรหลายๆ อย่างในสังคม ไม่ว่าจะให้คติสอนผู้ใหญ่ หรือสร้างแรงบันดาลใจในการประกอบอาชีพ ละครที่เคยสร้างปรากฏการณ์อย่างเห็นได้ชัดก็คือ เรื่อง Good Luck ค่ะ พอเรื่องนี้ออนแอร์ไป ผลปรากฏว่ามีคนแห่มาสมัครด้านสายการบินกันเยอะแยะไปหมด

เรื่อง "Kaseifu no Mita" ละครที่ผู้แต่งมีความตั้งใจปลุกขวัญและกำลังใจคนญี่ปุ่นที่เพิ่งผ่านพ้นภัยพิบัติมา

หรือจะละครแนวเสียดสีสังคมเบาๆ อย่าง Legal High ก็สามารถฉายได้สบายๆ แม้เนื้อหาจะมีการพูดเสียดสีสังคม องค์กร การเมือง เรียกได้ว่าไม่ปิดหูปิดตาคนดูสักเท่าไร แต่เป็นการชี้นำไปในทางที่เหมาะสมมากกว่า


Credit Picture: http://asianwiki.com/Itsutsu_Boshi_Tourist


หรือจะเป็นเรื่อง "
Itsutsu Boshi Tourist" เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับบริษัททัวร์ ที่พาเที่ยวเกียวโตในแบบเจาะลึกมาก มีการบอกประวัติสถานที่แบบเอ็กซ์คลูซีฟ เรียกได้ว่าละครเรื่องนี้ได้ทั้งความรู้เรื่องสถานที่ในเกียวโต และยังเป็นสื่อโปรโมตสถานที่ท่องเที่ยวไปในตัวด้วยค่ะ
*********************

 ใครว่าละครญี่ปุ่นจะมีไว้ดูเพื่อความเพลิดเพลินเท่านั้น แต่ละครญี่ปุ่นคิดลึก คิดเยอะ ใส่ใจทุกรายละเอียด จนให้อะไรมากกว่าที่คุณคิดค่ะ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น