หน้าที่ของละครญี่ปุ่นที่มากกว่าให้ความเพลิดเพลิน

Leave a Comment

หลักๆ แล้ว เราอาจดูละครไปเพราะต้องการผ่อนคลายความเครียด อยากได้ความเพลิดเพลิน บันเทิงใจ แต่จริงๆ แล้ว สำหรับละครญี่ปุ่นทำหน้าที่มากกว่านั้น แล้วละครญี่ปุ่นทำหน้าที่อะไรให้กับคนดูบ้าง มาดูกันค่ะ


1. เป็นสื่อโปรโมตการท่องเที่ย

Credit Pic : http://drama.nagoya/pict_disp?jinmei_id=7651


ญี่ปุ่นเองมีวิธีการโปรโมตสถานที่ท่องเที่ยวหลายรูปแบบมาก ในภาพยนตร์และละครก็เป็นส่วนหนึ่งค่ะ อย่างเช่น เรื่อง "Amachan" เรื่องนี้นอกจากความสนุก ข้อคิดที่ได้แล้ว อีกความรู้สึกหนึ่งที่รับสัมผัสได้ก็คือ บรรยายชนบทที่น่าไปเยือน 

ตอนที่ดิฉันดูเรื่องนี้ พอเห็นพบรรยากาศของทะเล เห็นคุณยายงมเก็บหอยเม่น แล้วรู้สึกว่า... "อยากไปจัง" บรรยากาศดูสดชื่น น่าไปเที่ยวมาก แล้วดูเป็นเรื่องที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตคนในชนบท แม้ไม่ได้เต็มไปด้วยความสะดวกสบาย หรูหราแบบคนเมือง แต่พวกเขาก็ภูมิใจที่ได้อยู่ในบ้านเกิด และยินดีถ้ามีผู้มาเยี่ยมเยียนถิ่นของพวกเขา มันเลยทำให้คนดูอย่างเรารู้สึกว่า ถ้าเราไปที่นั่น ต้องเต็มไปด้วยการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากคนในเมืองนั้นแน่ๆ อยากจะลองไปดูสักครั้งจังแฮะ!


**********************************


2. เป็นสิ่งที่สั่งสอน อบรมจิตใจกลุ่มคนวัยรุ่นและผู้ใหญ่




Credit Pic : http://adenikeadesanya.blogspot.com/2013_05_01_archive.html

ส่วนใหญ่แล้วคนที่ดูละครญี่ปุ่นจะอยู่ในช่วงวัยรุ่นจนถึงวัยผู้ใหญ่ทำให้ละครญี่ปุ่นเลยออกแนวเครียดๆ ไปสักหน่อย แต่ที่เครียดเนี่ย ก็เพราะว่าเขาต้องการสั่งสอน ให้ข้อคิดกับคนดูค่ะ เราจะเห็นได้ว่า ในละครญี่ปุ่นจะเต็มไปด้วยข้อคิดต่างๆ มากมาย ที่สะท้อนออกมา ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่อยากส่งเสริม และขับเคลื่อนผู้คนไปในทางที่ถูกที่ควรค่ะ

**********************************

3. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับคนรอบข้าง


ละครครอบครัวที่สะท้อนถึงความสำคัญของครอบครัว
พร้อมความสัมพันธ์ระหว่างคนรอบข้าง

Credit Pic: http://laughy.jp/1432200231762162855

ละครญี่ปุ่นมีหลากหลายแนวมาก ไม่ได้เน้นรักกุ๊กกิ๊ก ให้ความสำคัญกับคนรักอย่างเดียว แต่ให้ความสำคัญกับคนรอบข้างอีกหลายๆ คนที่เราไม่ควรมองข้าม เช่น พ่อ แม่ เพื่อน ครูบาอาจารย์ หรือเพื่อนร่วมงาน พักนี้มีละครแนวครอบครัวเยอะ ทำให้เราเองก็หันไปมองครอบครัวตัวเองมากขึ้น พยายามหาเวลาว่าง แล้วให้เวลาพวกท่านให้มากกว่าเดิม

**********************************

4. ลดปัญหาสังคม

จุดขัดแย้งในละครญี่ปุ่นที่เราเห็นอยู่บ่อยๆ มักจะเป็น "ปัญหาสังคม" ค่ะ เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาถูกเพื่อนกลั่นแกล้ง ปัญหาในหน้าที่การงาน ความขัดแย้งระหว่างบุคคลหรือแม้แต่พวกปัญหาทางอาชญากรรม 

ละครญี่ปุ่นมักจะเสนอความโหดร้ายของปัญหาพวกนี้ออกมา ให้คนดูเห็นอย่างตรงมาตรงมา พร้อมการคลี่คลายจากตัวละครว่า ถ้าเราเจอปัญหาพวกนี้แล้ว เราควรแก้ไข และเผชิญหน้ากับมันอย่างไร ถ้าเป็นพวกละครสืบสวน พอเราดูมันก็สนุกตรงที่ได้ชิงไหวชิงพริบกัน ในการสืบสาวหาความจริง แต่อีกสิ่งหนึ่งที่อยู่ในใจคือ...

"เป็นไปได้ ฉันไม่อยากทำร้ายใครเลยจริงๆ"

**********************************

4. สร้างแรงบันดาลใจในการเดินตามฝัน


ไม่ว่าเราจะทำอะไร แรงใจก็เป็นสิ่งสำคัญค่ะ ถ้ารู้สึกว่าหมดไฟเมื่อไร แนะนำว่าเราสามารถมาปลุกพลังใจในตัวเรา ได้จาก "ละครญี่ปุ่น" อย่างที่เห็นกันว่า ละครญี่ปุ่นมีแนวอาชีพเยอะมาก แทบจะทุกอาชีพเลยก็ว่าได้ แต่ละอาชีพก็จะนำเสนออุดมการณ์ และสิ่งที่คนในอาชีพนั้นต้องพบเจอ มีทั้งด้านดีและไม่ดี แต่ที่แน่ๆ เวลาดูแล้วมันทำให้เราอยากทำอะไรสักอย่าง

Credit Pic: https://bingwong.wordpress.com/2011/07/10/j-drama-code-blue/

ละครญี่ปุ่นจะไม่ใช่แค่นำเสนออาชีพฮอตฮิตของคนในสังคม แต่จะนำเสนออาชีพทุกอาชีพที่น่าสนใจ บางครั้งญี่ปุ่นเอง ก็ใช้สื่อละครในการเชิญชวนให้คนในสังคมหันมาประกอบอาชีพ ที่กำลังขาดแคลนในสังคมค่ะ เช่น เรื่อง "Code Blue" ที่สร้างขึ้นมาเพราะช่วงนั้นกำลังขาดหมอกู้ภัยทางเฮลิคอปเตอร์


Credit Pic: http://wiki.d-addicts.com/Good_Luck!!

หรือจะเป็นเรื่อง "Good Luck" ที่นำแสดงโดย "ทาคุยะ คิมูระ" จากเรื่องนี้ ทำให้เกิดปรากฏการณ์คนแห่มาสมัครงาน ทางด้านสายการบินเยอะขึ้นค่
**********************************

และนี่ก็คือส่วนหนึ่งในหน้าที่ของละครญี่ปุ่น ที่ไม่ได้ให้แค่ความสนุกสนาน เพลิดเพลินอย่างเดียว แต่เราจะได้สิ่งอื่นๆ อีกมากมายกว่าที่เราคิดเอาไว้!

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น