เบื้องหลังอาชีพคนทำหนังสือในซีรีส์ญี่ปุ่น

Leave a Comment



ละครญี่ปุ่นขึ้นชื่อว่าเป็นละครที่มีแนวอาชีพที่หลากหลายมากมีแทบทุกอาชีพ แม้แต่อาชีพบ.ก. อาชีพที่มีคนผู้ถึงไม่มากนักก็ยังถูกนำมาเสนอในละครญี่ปุ่น


ถ้าใครอยากรู้จักอาชีพนี้ เราขอแนะนำซีรีส์ 2 เรื่องค่ะ คือ



"First Class" เรื่องนี้จะออกแนว บ.ก. นิตยสารแซ่บๆ หน่อย แต่คิดว่าค่อนข้างสมจริงในบางจุดเช่นกัน เช่น เรื่องการทำงานที่หามรุ่งหามค่ำ ถ้าใครได้ดู จะเห็นฉากหนึ่งที่ "ชิรายูกิ" ไม่ยอมกลับบ้านนั่งทำงานต่อ แม้จินามิจะมาชวนกลับบ้านก็ตาม



เรื่องแบบนี้มันมีจริงๆ ค่ะ จริงๆ ก็ไม่ได้ฟิต แสดงความขยันจนโต้รุ่ง แต่ด้วยเนื้องาน ทำให้เราต้องอยู่ แล้วงานนิตยสารจะขึ้นอยู่กับเรื่อง "เวลา" เป็นสำคัญ ต้องปั่นให้ทันกำหนดหนังสือออกในแต่ละเดือน แม้แต่งานหนังสือเล่มพ็อกเก็ตบุ๊กก็เป็นเช่นกันค่ะ ถ้าทำไม่ทัน ก็จะไม่มีหนังสือขาย และงานหนังสือมันค่อนข้างละเอียด ฉะนั้น ถ้าอยากให้ทันต้องเพิ่มเวลา ถ้าเวลางานไม่พอ บ.ก.ก็ต้องอุทิศเวลาส่วนตัวนี่แหละให้กับงาน (บางทีก็ไม่ได้โอทีนะเคอะ รักงานจริงๆ ค่ะ T T) ส่วนในเรื่องความเด็ด ความแซ่บในวงการเนี่ย เคยได้ยินมาเหมือนกันค่ะว่า วงการนิตยสารคุณต้องแกร่งพอควร



- อีกเรื่องหนึ่งที่แนะนำให้ดูก็คือเรื่อง "Ghost Writer" แม้ธีมหลักจะนำเสนออาชีพ "นักเขียนเงา" แต่จะแฝงเรื่องชีวิตบ.ก. เข้าไปด้วย อันนี้จะออกแนวสายบ.ก.หนังสือเล่มเลยค่ะ ส่วนตัวเราทำอาชีพเป็นบ.ก.หนังสือเล่ม พอดูเรื่องนี้แล้วรู้สึกว่า...


"นี่แกเอาความจริงมาเล่าทำม๊ายยยยย" ฮ่าๆๆๆๆ
คือดูแล้วนึกถึงชีวิตตัวเองเลยค่ะ ทั้งประเด็นที่ว่า ในบางครั้งเราก็ไม่ม๊อำนาจมากพอที่จะทำหนังสือที่รักได้ เชือดเชือนกันด้วยไอเดีย หรือโมเม้นต์ที่ต้องปฏิเสธพิมพ์งานของนักเขียน รวมถึงกิจกรรมไปคุยกับนักเขียน กินข้าวไป คุยงานไป หรือสภาพโต๊ะทำงานที่ต้องเต็มไปด้วยกระดาษเป็นกองๆ แม้เลิกงานแล้วก็ยังต้องจมอยู่กับงาน นี่มันชีวิตจริงชัดๆ ฮ่าๆๆๆ



2 เรื่องนี้ได้นำเสนอถึงอาชีพบ.ก.ให้เห็นตามนี้ค่ะ


1. อาชีพนี้เป็นอาชีพที่ไม่ได้ทำแค่ในเวลางาน 
ไม่ใช่งานรูทีน แต่คุณต้องจมกับงานนั้นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจบโปเจค หรือจู่ๆ นักเขียนเกิดอาการสงสัย ซาโตริมัสอะไรบางอย่าง คุณก็ต้องพร้อมตอบเมล์ รับโทรศัพท์ทุกเมื่อ


2. ค่อนข้างเป็นสายงานครีเอทีฟ
บ.ก.ไม่ใช่คนมานั่งตรวจภาษาอย่างเดียว แต่คุณต้องคิดทุกอย่างเกี่ยวกับหนังสือ เช่น คอนเซปต์เล่ม ประเด็นหลักของเรื่อง หรือคอนเซปต์หน้าปก บลา บลา บลา อะไรที่มันเกี่ยวข้องกับหนังสือ ทำหมด




3. อาชีพนี้เพื่อนจะเยอะค่ะ
อย่างน้อยคุณก็ต้องสนิทสนมกับ "นางแบบ" (อันนี้สายนิตยสาร) หรือ "นักเขียน" (ในสายหนังสือเล่ม) ในเรื่องเราจะเห็นว่าคุยกันสนิทมากๆ เลย ชีวิตจริงๆ ก็เป็นอย่างงั้นค่ะ บางทีงานนี้ก็ทำให้เราได้เพื่อนสนิทดีๆ มาด้วยเลยก็ได้


4. งานหนัก
อันนี้แล้วแต่ขอบเขตของงานนะคะ บ.ก.บางคนก็มีหน้าที่ทำหนังสือ แต่บางคนจะพ่วงหน้าที่อื่นๆ มาด้วย หนึ่งในนั้นก็คือ "ผู้ประสานงาน" ค่ะ คุณต้องเป็นศูนย์กลางในการประสานงานทุกอย่าง ทั้งคนในสำนักพิมพ์เองและนักเขียน ต้องคอยประสานงาน พูดคุยทุกอย่างเอง ถ้าเกิดปัญหาอะไรขึ้นมา ก็ต้องหาสถานการณ์ หาจุดร่วมสายกลางให้ทุกฝ่ายเดินไปได้ด้วยดีค่ะ และที่สำคัญต้องคำนึงถึงคุณภาพของงานด้วย บางทีก็ต้องยอมให้คนเกลียดค่ะ เพื่องานที่ดี กรณีนี้เห็นได้จากหัวหน้าบ.ก. เรื่อง First Class คือภายนอกนางจะดูนิ่งๆ ดุๆ หน่อย บางทีก็ต้องตัดสินใจทำในบางสิ่งที่อาจทำให้ใครสักคนไม่พอใจ แต่ก็ยอม เพื่องานของส่วนร่วม



5. เป็นคนมีความรับผิดชอบ
ก็นั่นแหละค่ะ ถ้าเกิดอะไรผิดพลาดมา คนรับผิดคนแรกคือ "บ.ก." ค่ะ เพราะเป็นคนที่ควบคุมงานทุกอย่าง เพื่อนเราที่เป็นบ.ก.ด้วยกันเคยกล่าวไว้ว่า "ด้วยเนื้อหามันชวนให้โดนด่ามาก" ฮ่าๆๆๆ อันนี้ขำๆ นะคะ อิอิ แต่สิ่งที่ได้ก็คือ มันเป็นงานที่พิสูจน์ตัวเองให้ได้เห็นค่ะว่า แม้เราจะตัวเล็ก แต่ก็รับผิดชอบงานใหญ่ได้ และได้เรียนรู้ถึง 



"การยอมรับผิด" เมื่อทำผิด และ 
ให้ "เครดิตคนในทีม" เมื่องานสำเร็จ





6. ต้องมีความละเอียด
เชื่อมโยงมาจากข้อที่แล้ว เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดต่างๆ
ต้องมีความละเอียด มีความรอบคอบค่ะ แม้ว่าจะมีฝ่ายปรู๊ฟ หรือพิสูจน์อักษร บางทีเราก็ต้องปรู๊ฟละเอียดเองอีกที เพื่อกันพลาด ซึ่งกระบวนการนี้ ขอให้ศัพท์พิเศษว่า "ตู๊ฟ" ค่ะ เป็นการรวมคำระหว่าง "ปรู๊ฟ" กับ "ตรวจงาน" บ.ก.ต้องทำ 2 สิ่งนี้คู่กัน




7. สถานะบ.ก.ค่อนข้างมีความน่าเกรงขาม
ประเด็นนี้จะเห็นได้ในละครญี่ปุ่นค่ะ อย่างเรื่อง "Ghost Writer" บ.ก. ในเรื่องจะค่อนข้างมีอำนาจในการตัดสินใจในสิ่งต่างๆจะเลือกให้ใครมาเขียน จะเลือกให้ใครอยู่ต่อ หรืออยากจะทำอย่างไรกับหนังสือ สิทธิขาดอยู่ที่บ.ก.


เพราะคนพิมพ์งานเผยแพร่คือสำนักพิมพ์ และคนที่ปั้นนักเขียนให้เกิดขึ้นมาได้ก็คือ "บ.ก." ต่อให้คุณมีพรสวรรค์มาก แต่ไม่มีบ.ก.คนไหนเข้าไปเห็น งานนั้นก็คงไม่ได้เผยแพร่สู่สายตานักอ่าน ถูกไหมคะ?


และแน่นอนว่า ความสุขของคนทำอาชีพนี้ก็คือ การสามารถผลักดันคนมีฝันคนหนึ่งให้กลายเป็นจริงได้ พอเห็นนักเขียนมีความสุข ก็มีความสุขไปด้วย ฉะนั้น ทุกการกระทำหวังดีกับนักเขียนทั้งนั้นค่ะ
แต่จริงๆ บ.ก.ก็ไม่ได้ดุ หรือมีอำนาจอะไรขนาดนั้น แล้วแต่สไตล์การทำงานค่ะ อย่างเราถูกจัดอยู่ในหมวด "บ.ก.ใจดี" ไปเรียบร้อยแล้ว
(บางทีก็แอบหนีไปร้องไห้ สู้กับนักเขียนไม่ได้ เฮ้ย! ไม่ใช่สิ)




8. สุดท้าย...ต้อง "รักหนังสือ" ค่ะ
เป็นคุณสมบัติสำคัญของอาชีพนี้เลย อย่างเรื่อง First Class เรื่องราวทุกอย่างมันสะท้อนให้เห็นว่า ที่ฉันทำไป เพราะ "ฉันรักหนังสือ" ไม่ว่าจะเหนื่อยยากแค่ไหน หรือจะต้องถูกใครทำร้าย หรือจะต้องไปฟาดฟันกับใคร หรือจะต้องถูกใครเกลียด บางทีมันแทบจะทนไม่ไหว
แต่สิ่งเดียวที่ทำให้เราอยู่ต่อไปได้คือ "เรารักหนังสือ" ค่ะ



เรื่องราวเกี่ยวกับอาชีพบ.ก.ก็ประมาณนี้ค่ะ ทุกวันนี้ก็ยังเป็นบ.ก.หน้าใหม่ที่ยังต้องเรียนรู้ ฝึกฝีมือไปอีกยาวว ถ้าอยากรู้เพิ่มเติมศึกษาต่อได้ในละคร 2 เรื่องนี้ได้เลยย


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น